วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

งานกลุ่มที่ 1 วัยเด็กตอนต้น พัฒนาการวัยเด็กตอนต้น (Childhood Development)วัยเด็กตอนต้น (early childhood) หรือวัยก่อนเรียน (pre-school age) เป็นวัยที่มีอายุอยู่ในช่วง 2-6 ปี วัยนี้พัฒนามาจากวัยทารก เด็กเริ่มรู้จักบุคคล สิ่งแวดล้อม สิ่งของ สามารถใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้หลากหลาย เริ่มเข้าใจลักษณะการสื่อสาร และสามารถใช้ภาษาได้มากขึ้น จากสิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่และการมีความสามารถดังกล่าวกระตุ้นให้เด็กต้องการแสดงความสามารถที่มีอยู่ วัยนี้จึงมีลักษณะเด่นคือชอบแสดงความสามารถ ชอบอาสาช่วยเหลือ ช่างประจบ ซุกซน อยากรู้อยากเห็น ช่างถาม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ชอบปฏิเสธ ค่อนข้างดื้อ ต้องการมีอิสระ เป็นตัวของตัวเอง เริ่มรู้จักพึ่งพาตนเอง และไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การทำกิจกรรม การเรียนรู้เหตุผล สิ่งใดผิดถูก การเรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง นอกจากนี้เด็กจะแสดงความรู้สึกนึกคิดของตนจากการพูดคุย การแสดงออก ความเฉลียวฉลาด ซึ่งจะเป็นเอกลักษณ์ของเด็กแต่ละคนด้วย ดังนั้นจึงพบว่าเด็กวัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพและมีพัฒนาการด้านจริยธรรมอย่างชัดเจนพัฒนาการทั่วไปของเด็กตั้งแต่ 0-6 ปีพัฒนาการเด็กเมื่ออายุ 1 เดือน
• สบตา • จ้องหน้าแม่
วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย
• กินนมแม่อย่างเดียว • ยิ้มแย้ม มองสบตา เล่นพูดคุยกับลูก • เอียงหน้าไปมาช้าๆ ให้ลูกมองตาม • อุ้มบ่อยๆ อุ้มพาดบ่าบ้าง
พัฒนาการของเด็กวัย 2 เดือน• คุยอ้อแอ้ ยิ้ม • ชันคอในท่าคว่ำวิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย• กินนมแม่อย่างเดียว • เล่นกับลูกโดยแขวนของสีสด ห่างจากหน้าลูกประมาณ 1 ศอกให้ลูกมองตา • พูดคุยทำเสียงต่างๆ ร้องเพลง • ให้ลูกนอนคว่ำในที่นอนที่ไม่นุ่มเกินไปพัฒนาการของเด็กวัย 3 เดือน• ชันคอได้ตรงเมื่ออุ้มนั่ง • ส่งเสียงโต้ตอบวิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย• กินนมแม่อย่างเดียว • อุ้มท่านั่ง พูดคุยทำเสียงโต้ตอบกับเด็ก • ให้ลูกนอนเปล หรืออู่ ที่ไม่มืดทึบพัฒนาการของเด็กวัย 4 เดือน• ไขว่คว้า • หัวเราะเสียงดัง • ชูคอตั้งขึ้นในท่าคว่ำวิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย• กินนมแม่อย่างเดียว • จัดที่ที่ปลอดภัยให้เด็กหัดคว่ำ คืบ • เล่นกับลูกโดยชูของเล่นให้ลูกไขว่คว้า • ชมเชย ให้กำลังใจลูก เมื่อลูกทำได้
พัฒนาการของเด็กวัย 5 เดือน• คืบ • พลิกคว่ำ พลิกหงายวิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย• หาของเล่นสีสดชิ้นใหญ่ที่ปลอดภัยให้หยิบ จับ และให้คืบไปหา • พ่อแม่ช่วยกันพูดคุย โต้ตอบ ยิ้มเล่นกับเด็ก • พูดถึงสิ่งที่กำลังทำอยู่กับเด็ก เช่น อาบน้ำ กินข้าวพัฒนาการของเด็กวัย 6 เดือน• คว้าของมือเดียว • หันหาเสียงเรียกชื่อ • ส่งเสียงต่างๆ โต้ตอบวิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย• เวลาพูดให้เรียกชื่อเด็ก • เล่นโยกเยกกับเด็ก • หาของให้จับพัฒนาการของเด็กวัย 7 เดือน• นั่งทรงตัวได้เอง • เปลี่ยนสลับมือถือของได้วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย• อุ้มน้อยลง ให้เด็กได้คืบและนั่งเล่นเอง โดยมีคุณแม่คอยระวังอยู่ข้างหลัง • ให้เล่นสิ่งที่มีสี และขนาดต่างกัน เช่น ลักษณะผิวเรียบ - หยาบ อ่อน - แข็ง• ให้หยิบจับสิ่งของ เข้า - ออก จากถ้วย หรือกล่องพัฒนาการของเด็กวัย 8 เดือน - มองตามของที่ตก - แปลกหน้าคนวิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย- กลิ้งของเล่นให้เด็กมองตาม- พูดและทำท่าทางเล่นกับเด็ก เช่น จ๊ะเอ๋ จับปูดำ แมงมุม จ้ำจี้ ตบมือพัฒนาการของเด็กวัย 9 เดือน• เข้าใจเสียงห้าม • เล่นจ๊ะเอ๋ ตบมือ • ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือหยิบของชิ้นเล็กวิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย• หัดให้เกาะยืน เกาะเดิน • หัดให้เด็กใช้นิ้วหยิบ จับของกินชิ้นเล็กเข้าปาก เช่น ข้าวสุก มะละกอหั่น มันต้มหั่น ฟักทอง ต้ม ห้ามใช้ถั่ว หรือของที่จะสำลักได้ พัฒนาการของเด็กวัย 10 เดือน• เหนี่ยวตัว เกาะยืน เกาะเดิน • ส่งเสียงต่างๆ "หม่ำ หม่ำ", "จ๊ะ จ๋า"วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย• จัดที่ให้เด็กคลาน และเกาะเดินอย่างปลอดภัย • เรียกเด็ก และชูของเล่นให้เด็กสนใจเพื่อลุกขึ้นจับพัฒนาการของเด็กวัย 1 ปี • ตั้งไข่ • พูดเป็นคำที่มีความหมาย เช่น พ่อ แม่ • เลียนเสียง ท่าทางและเสียงพูดวิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย• ให้เด็กมีโอกาสเล่นสิ่งของโดยอยู่ในสายตาผู้ใหญ่ • พูดชมเชย เมื่อเด็กทำสิ่งต่างๆ ได้ • พูดคุย ชี้ และบอกส่วนต่างๆ ของร่างกายพัฒนาการของเด็กวัย 1 ปี 3 เดือน• เดินได้เอง • ชี้ส่วนต่างๆ ของร่างกายตามคำบอก • ดื่มน้ำจากถ้วยวิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย• พูดคุย โต้ตอบ ชี้ชวนให้เด็กสังเกตของและคนรอบข้าง • ให้หาของที่ซ่อนใต้ผ้า• ชี้ให้ดูภาพ และเล่าเรื่องสั้นๆ ให้เด็กฟัง • ให้เด็กหัดตักอาหาร ดื่มน้ำจากถ้วย และแต่งตัวโดยช่วยเหลือตามสมควรพัฒนาการของเด็กวัย 1 ปี 6 เดือน• เดินได้คล่อง • รู้จักขอ และทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย• ให้โอกาสเด็ก เดิน วิ่ง และหยิบจับสิ่งของโดยระมัดระวังความปลอดภัย • ร้องเพลง คุยกับเด็กเกี่ยวกับสิ่งรอบตัว เล่นเกมส์ง่ายๆ • จัดหา และทำของเล่นที่มีสี และรูปทรงต่างๆพัฒนาการของเด็กวัย 1 ปี 8 เดือน• พูดแสดงความต้องการ • พูด 2-3 คำ ติดต่อกัน • เริ่มพูดโต้ตอบ • ขีดเขียนเป็นเส้นได้วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย• เมื่อเด็กพยายามทำสิ่งใด ควรสนใจ ชี้แนะ และให้กำลังใจ โดยให้เด็กคิดเอง และทำเอง บ้าง • ฝึกลูกให้ช่วยตัวเอง • ให้เด็กมีส่วนร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ในบ้านพัฒนาการของเด็กวัย 2 ปี • เรียกชื่อสิ่งต่างๆ และคนที่คุ้นเคย • ตักอาหารกินเองวิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย• คุณพ่อคุณแม่ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีตลอดเวลา และอบรมสั่งสอนลูกด้วยเหตุผลง่าย • สอนลูกให้รู้จักทักทาย ขอบคุณ และขอโทษในเวลาที่เหมาะสมพัฒนาการของเด็กวัย 2 ปี 6 เดือน• ซักถาม "อะไร" พูดคำคล้องจอง • ร้องเพลงสั้นๆ • เลียนแบบท่าทาง • หัดแปรงฟันวิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย• พาเด็กเดินรอบบ้าน และบริเวณใกล้ๆ ชี้ชวนให้สังเกตสิ่งที่พบเห็น• หมั่นพูดคุยด้วยคำพูดที่ชัดเจน และตอบคำถามของลูกโดยไม่ดุ หรือแสดงความรำคาญ • ชวนลูกแปรงฟัน เมื่อตื่นนอนและก่อนนอนทุกวันพัฒนาการของเด็กวัย 3 ปี • บอกชื่อ และเพศตนเองได้ • รู้จักให้และรับ รู้จักรอวิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย • สนับสนุนให้ลูกพูด เล่าเรื่อง ร้องเพลง ขีดเขียน และทำท่าทางต่างๆ • สังเกตท่าทีความรู้สึกของเด็ก และตอบสนองโดยไม่บังคับ หรือตามใจลูกเกินไป ควรค่อยๆ รู้จักผ่อนปรน • จัดหาของที่มีรูปร่าง และขนาดต่างๆ ให้เด็กเล่น หัดขีดเขียน หัดนับแยกกลุ่ม และเล่นสมมุติพัฒนาการของเด็กวัย 4 ปี • ซักถาม "ทำไม" • ล้างหน้า แปรงฟันเองได้ • บอกขนาด ใหญ่ เล็ก ยาว-สั้น • เล่นรวมกับคนอื่น รอตามลำดับก่อนหลัง • ไม่ปัสสาวะรดวิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย • ตอบคำถามของเด็ก • เล่าเรื่องจากภาพ คุย ซักถาม เล่าเรื่อง • ฝึกให้ลูกใส่เสื้อผ้า ติด และกลัดกระดุม รูดซิปพัฒนาการของเด็กวัย 4 ปี 6 เดือน • รู้จักสีถูกต้อง 4 สี • ยืนทรงตัวขาเดียว และเดินต่อเท้า • เลือกของที่ต่างจากพวกได้ • นับได้ 1-10 รู้จักค่าจำนวน 1-5วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย• ให้ลูกหัดเดินบนไม้กระดานแผ่นเดียว หัดยืนทรงตัวขาเดียว และกระโดดข้ามเชือก • เล่นทาย "อะไรเอ่ย" กับลูกบ่อยๆ • ฝึกหัดนับสิ่งของและหยิบของ 1-5 ชิ้นพัฒนาการของเด็กวัย 5ปี • พบผู้ใหญ่รู้จักไหว้ทำความเคารพ • รู้จักขอบคุณ • รู้จักเล่าเรื่องสั้นๆวิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย • ให้ลูกช่วยงานบ้านง่ายๆ และพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ทำ เช่น ซักผ้า • ฝึกให้ลูกสังเกต รู้จักเปรียบเทียบสิ่งที่แตกต่าง และจัดกลุ่มสิ่งที่เหมือนกันพัฒนาการของเด็กวัย 6 ปี • นับได้ 1-30 รู้ค่าจำนวน 1-10 • รู้จักซ้าย ขวา • เริ่มอ่านและเขียนตัวอักษรและตัวเลขวิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย • ให้ลูกนับสิ่งของที่พบเห็น หัดอ่าน เขียนรูป และตัวอักษร • พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับบุคคลต่างๆ และประเพณีท้องถิ่น • ให้ลูกวาดรูปตามความคิดของตน เล่าเรื่องอธิบายสิ่งที่ตนพบเห็นการตรวจสอบพัฒนาการของเด็ก หากพ่อแม่พบว่าลูกมีลักษณะที่สงสัยว่าอาจจะผิดปกติหรือมีปัญหาการเลี้ยงดูควรพาไปปรึกษาแพทย์พัฒนาการเบื้องต้นที่อาจใช้เป็นเกณฑ์ตรวจสอบมีดังนี้การได้ยิน ในเดือนแรกเด็กไม่สะดุ้งเวลามีเสียงดังใกล้ตัว/อายุ 6 เดือนไม่หันมองหาตามเสียงการมองเห็น เดือนแรกไม่มองหน้า/อายุ 3 เดือนไม่มองตามสิ่งของหรือหน้าคนที่เคลื่อนไหวอยู่ตรงหน้า/6 เดือนไม่คว้าของ/9 เดือนไม่หยิบของชิ้นเล็กๆที่อยู่ตรงหน้าการเคลื่อนไหว เดือนแรกแขนขาเคลื่อนไหวน้อย/อายุ 3 เดือนยังไม่ชันคอ/5 เดือนยังไม่คว่ำ/9 เดือนยังไม่นั่ง/1 ปีไม่เกาะยืน/2 ปียังล้มง่ายเก้ๆกังๆการรู้จักใช้ภาษา อายุ 10 เดือนยังไม่เลียนเสียงพูด/1ปียังไม่เลียนแบบท่าทางยังพูดเป็นคำที่ไม่มีความหมาย /3 ปียังพูดไม่เป็นประโยคพัฒนาการด้านต่างๆของวัยเด็กตอนต้น (วัยอนุบาล 3 – 6 ปี)พัฒนาการทางร่างกายพัฒนาการทางร่างกายของเด็กวัยนี้เห็นได้ชัดจากความก้าวหน้าทางด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่(Gross motor development) และการใช้กล้ามเนื้อย่อย (Fine motor development) เช่น ความก้าวหน้าทางด้านการเคลื่อนไหว การปีนป่ายการวิ่งท่าทางต่างๆ ตลอดจนความสามารถในการบังคับกล้ามเนื้อนิ้วมือเพื่อใช้ในการเขียน หรือระบายสีสิ่งที่ต้องการ ลักษณะร่างกายและสัดส่วนของวัยนี้จะเปลี่ยนแปลงจากลักษณะทารกอย่างชัดเจน กล่าวคือ ช่องท้องบางลง หน้าอกและไหล่กว้างและใหญ่ขึ้น แขนขายาวออกไป ศีรษะได้ขนาดกับลำตัว มือและเท้าใหญ่ขึ้น โครงกระดูกแข็งขึ้น กล้ามเนื้อเติบโตแข็งแรงขึ้น มีการเพิ่มความสูงอย่างสม่ำเสมอ 3 นิ้วต่อปี และน้ำหนักเพิ่มสม่ำเสมอปีละ 1.5-2 กิโลกรัม และในช่วงปลายของวัยนี้จะมีฟันแท้ขึ้น 1-2 ซี่ เด็กวัยนี้เริ่มมีทักษะการเคลื่อนไหวและสามารถใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น ระบบกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัสทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้นเด็กจะชอบช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เช่น การป้อนข้าวเอง แต่งตัว ใส่รองเท้า อาบน้ำ หวีผม เขียนหนังสือ การหยิบจับต่าง ๆ ชอบเล่นกับกลุ่มเพื่อน ๆ สามารถเดิน วิ่ง กระโดด ห้อยโหนอย่างคล่องแคล่ว และไม่รู้จักเหนื่อย เพราะการได้เล่นกับเพื่อนจะช่วยให้เด็กรู้สึกอบอุ่น ไม่ถูกทอดทิ้งจากการศึกษาของ เบเลย์ (Bayley, 1935) และเวลล์แมน (Wellman, 1937) พบว่าเด็กสามารถจะบังคับการทรงตัวระหว่างเดินบนเส้นโค้งได้เมื่ออายุ 4 ปี เครทตี้ (Cratty, 1969) ศึกษาพบว่า เด็กจะสามารถฝึกยืนขาเดียวและกอดอกได้เมื่ออายุประมาณ 5 ปี ซึ่งจากการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นได้ชัดว่า เด็กในวัยอนุบาลจะมีความสามารถในการเคลื่อนไหวดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งการเคลื่อนไหวที่ดีจะนำไปสู่การสำรวจ การค้นหาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในสภาพแวดล้อมต่อไป ส่วนในด้านการใช้กล้ามเนื้อย่อยก็มีการพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน โดยเฉพาะการหยิบจับ และการใช้ดินสอขีดเขียนหรือวาดภาพ เครทตี้ (Cratty, 1970) ศึกษาพัฒนาการการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมือ พบว่าเด็กอายุ 3-4 ปี จะสามารถบังคับกล้ามเนื้อมือในการวาดรูปทรงเรขาคณิตได้ และเมื่อ 5 ปี เด็กจะนำรูปทรงเรขาคณิตพื้นฐานมาประกอบเป็นภาพที่เด็กเห็น เช่น บ้าน ต้นไม้จนเมื่ออายุ 6 ปี เด็กจะสามารถวาดรูปทรงเลขาคณิตที่ซับซ้อนได้ ซึ่งการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของพัฒนาการในการใช้กล้ามเนื้อมือของเด็กวัยอนุบาลว่า มีการพัฒนาการก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัด วัยอนุบาลเป็นวัยที่เด็กมีความก้าวหน้าทางด้านการเคลื่อนไหว ทั้งทางด้านกล้ามเนื้อใหญ่ และกล้ามเนื้อย่อย เพราะฉะนั้นกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับเด็กในวัยนี้ทางหนึ่งก็คือ การจัดกิจกรรมที่ให้เด็กมีโอกาสฝึกการใช้กล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย เช่น การให้โอกาสวิ่งเล่นกลางแจ้ง หรือการปีนป่ายเครื่องเล่นสนาม หรือกิจกรรมที่ฝึกกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง เช่น การเล่นดินน้ำมัน การฝึกระบายสีให้อยู่ในกรอบเส้น ตลอดจนการร้อยลูกปัด เป็นต้น พัฒนาการทางอารมณ์เด็กวัยนี้จะมีพัฒนาการการแสดงออกด้านอารมณ์ที่ชัดเจน เปิดเผย อิสระ ทั้งอารมณ์พึงพอใจและไม่พึงพอใจ มักจะเป็นคนเจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจตัวเอง ดื้อรั้น หงุดหงิด โมโหร้าย ชอบปฏิเสธ อารมณ์ในทางลบที่เด็กแสดงออกจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อเด็กต้องเข้าสังคมในกลุ่มเพื่อน อย่างไรก็ตาม เด็กวัยนี้สามารถสร้างความรักและความผูกพันกับบุคคลอื่นได้ เช่น เพื่อนสนิท ผู้เลี้ยงดู เพื่อให้เกิดความรู้สึกปลอดภัยทางอารมณ์ สำหรับลักษณะอารมณ์เด่น ๆ ที่มักเกิดขึ้นในเด็กวัยนี้คือ1. อารมณ์โกรธเด็กวัยนี้จะโกรธง่ายจากการต้องการเป็นตัวของตัวเอง บางครั้งอาจโกรธตัวเองหรือโกรธบุคคลที่เกี่ยวข้อง อารมณ์โกรธเกิดเมื่อเด็กไม่ได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ต้องการ แสดงออกโดยการร้องไห้ดิ้นกับพื้นเสียงดัง ทิ้งตัวลงนอน กรี๊ด ทุบตีสิ่งของต่าง ๆ ทำร้ายตัวเอง เป็นต้น2. อารมณ์รัก เด็กวัยนี้จะรักบุคคลที่ให้การตอบสนองในสิ่งที่เขาต้องการ แสดงอารมณ์รักอย่างเปิดเผย เช่นการกอดจูบบุคคลหรือสิ่งของที่รัก 3. อารมณ์กลัวอารมณ์กลัวเกิดจากการได้พบสิ่งแปลกใหม่ หรือกลัวในสิ่งที่จินตนาการไปเอง เช่น กลัวความมืด กลัวผี และมักเลียนแบบความกลัวจากผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิด จะแสดงออกโดยการหลบซ่อน วิ่งหนี วิ่งเข้าหาผู้ใหญ่ และจะค่อยลดลงหากได้รับการอธิบายและให้เด็กเกิดความรู้สึกคุ้นเคยกับสิ่งนั้น ๆ 4. อารมณ์อยากรู้อยากเห็นวัยนี้จะเป็นวัยช่างซักถาม เด็กจะสงสัยทุกเรื่องและถามได้ตลอดเวลา ไม่สิ้นสุด จะตั้งคำถามมากจนตอบไม่หมด หากเด็กไม่ได้รับการตอบสนองที่ถูกต้องจะทำให้ความอยากรู้อยากเห็นลดลงน้อยกว่าเด็กวัยเดียวกัน5. อารมณ์อิจฉาริษยามักจะเกิดขึ้นเมื่อรู้สึกว่าตนด้อยกว่าผู้อื่น หรือกำลังสูญเสียความสนใจที่ตนเคยได้รับถูกแบ่งปันให้บุคคลอื่น เช่น การมีน้องใหม่ อิจฉาพี่น้องคนอื่น มักแสดงออกคล้ายกับอารมณ์โกรธ หรืออาจแสดงภาวะถดถอยกลับไปสู่ความเป็นทารกอีกครั้ง เช่น ปัสสาวะรดที่นอนบ่อย การดูดมือ ดื้อดึง ร้องไห้ง่าย งอแง เป็นต้น6. อารมณ์ร่าเริง ดีใจหรือสนุกสนานอารมณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเด็กได้รับการตอบสนองตามที่ตนต้องการทันเวลา สม่ำเสมอ หรือประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรมต่าง ๆ แสดงออกด้วยการหัวเราะ ส่งเสียงดัง ยิ้ม ปรบมือ กระโดดโลดเต้น เป็นต้นพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กวัยนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการเลี้ยงดูของพ่อแม่ และมีความสำคัญต่อการพัฒนาความรู้สึกมั่นคงของเด็กต่อไป และความรู้สึกที่มั่นคงทางอารมณ์จะช่วยพัฒนาให้เด็กมีการพัฒนาความเจริญงอกงามด้านจิตใจ และสามารถเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ ๆ ด้วยความเต็มใจและมั่นใจยิ่งขึ้นพัฒนาการทางสังคมวัยอนุบาลเป็นวัยที่เด็กก้าวจากครอบครัว ไปสู่สังคมภายนอก เด็กในวัยนี้จะรู้จักคนมากขึ้น เช่น ครู เจ้าหน้าที่ของโรงเรียน เพื่อนๆ ซึ่งแตกต่างไปจากบุคคลที่คุ้นเคยในครอบครัว เพราะฉะนั้นเด็กวันนี้จึงต้องปรับตัวเพื่อที่จะอยู่กับผู้อื่นได้อย่างไม่มีปัญหา เช่น การเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตัวเพื่อสังคมยอมรับ การทำตัวให้เข้ากับกลุ่มเพื่อนที่ตนอยู่ การรู้จักการให้และการรู้จักผ่อนปรน รู้จักแบ่งเป็น ฯลฯ นอกจากนี้เด็กวัยอนุบาลยังเป็นวัยที่สามารถเรียนรู้ทัศนคติ ค่านิยมของสังคม ตลอดจนการเรียนรู้บทบาทางเพศอีกด้วย พัฒนาการทางสังคมของวัยเด็กตอนต้นจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว ชัดเจน เด็กจะชอบการเข้าสังคม การพบปะพูดคุยกับผู้คน การมีเพื่อน การเล่นรวมกลุ่มกับเพื่อนทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศ เด็กจะมีความคิดและการเล่นที่อิสระ ไม่ชอบกฎเกณฑ์ ดังนั้นจึงไม่สามารถรักษากฎเกณฑ์ของกลุ่มเพื่อนได้นาน จะเป็นลักษณะต่างคนต่างเล่น แต่จะเล่นอยู่ในบริเวณเดียวกัน ต่อมาถึงจะพัฒนาการเล่นที่มีลักษณะคล้าย ๆ กัน โดยสามารถเล่นรวมกลุ่มกับเพื่อนได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ ชอบเข้าสังคมกับกลุ่มเพื่อนบ่อยขึ้น เป็นสมาชิกในกลุ่มเพื่อนได้ โดยพยายามปรับตัวให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มซึ่งอาจแสดงออกโดยการแบ่งปันสิ่งของให้กับผู้อื่น ให้ความร่วมมือ ยอมรับฟัง แสดงออกถึงความเป็นผู้นำ ชอบเล่นบทบาทสมมติ เป็นพ่อ-แม่ คุณครู–นักเรียน ตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างเพศ พยายามช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลืองานบ้าน เช่น ซักผ้า เก็บของ ล้างจาน ปิด-เปิดไฟ พัดลม โทรทัศน์ได้จากการสังเกตผู้ใหญ่และลองกระทำเอง นอกจากนี้เด็กวัยนี้จะเรียนรู้การเข้าสังคมในกลุ่มที่มีอายุต่าง ๆ กัน รู้จักปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นทั้งวัยเดียวกันและวัยต่างกัน เรียนรู้มารยาทการไหว้ทักทาย การพูดคุย เด็กจะพยายามเรียนรู้ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ตลอดจนเรียนรู้ที่จะระมัดระวังคนแปลกหน้า อย่างไรก็ตาม การปรับตัวของเด็กจะเป็นไปได้ดีเพียงใดขึ้นอยู่กับประสบการณ์การเลี้ยงดูที่เด็กได้รับจากครอบครัว เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างมีอิสระจะมีความเชื่อมั่นในตนเองมากกว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงแบบเข้มงวดตลอดเวลา นอกจากนี้สัมพันธภาพในครอบครัวถือเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เด็กที่เติบโตมาจากครอบครัวที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันจะมีความรู้สึกกล้าและมั่นใจในการเข้าสังคมนอกบ้านมากกว่าเด็กที่เติบโตจากครอบครัวที่มีปัญหาด้านสัมพันธภาพเนื่องจากเด็กวัยนี้ต้องปรับตัวเพื่อให้เพื่อนๆ ยอมรับ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในเด็กบางคนจะพยายามหาวิธีการต่างๆ มาลองทำ และดูว่าวิธีการใดจะเป็นวิธีการที่เพื่อนยอมรับมากที่สุด และถ้าเพื่อนยอมรับเด็กก็จะนำวิธีการนั้นมาใช้อีก เช่น การนำขนมมาแจกเพื่อน เพื่อนจะชอบ เด็กก็จะนำขนมมาแจกเพื่อนอีก หรือถ้าเด็กต้องการได้ของเล่นจากเพื่อน เด็กอาจจะลองทำโดยวิธีผลักแล้วแย่ง หรือวิธีนำของอื่นมาแจกและแลกเปลี่ยน และถ้าวิธีใดทำแล้วได้ผลดี โดยได้ของมาจากเพื่อนแล้วไม่มีการชกต่อย หรือผู้ใหญ่ไม่ดุ เด็กก็จะนำวิธีนั้นมาใช้ในสถานการณ์แบบเดียวกันครั้งต่อๆ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเด็กในวัยนี้เป็นวัยของการทดสอบและการเรียนรู้ว่า พฤติกรรมใดสังคมยอมรับ และพฤติกรรมใดสังคมไม่ยอมรับ ลักษณะของพฤติกรรมที่พบได้บ่อยในเด็กวัยนี้คือ พฤติกรรมการทำตามกัน เช่น ถ้าเด็กเห็นเด็กคนหนึ่งทำอะไร เด็กก็จะทำตามแบบเพื่อน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของการกระทำหรือคำพูด นอกจากนั้นยังพบว่า เด็กในวัยนี้ยังแสดงบุคลิกภาพของแต่ละคนอย่างเห็นได้ชัด เช่น ลักษณะความเป็นผู้นำ หรือลักษณะการเป็นผู้ตาม เป็นต้นพัฒนาการทางสติปัญญาวัยนี้เป็นวัยที่ชอบแก้ปัญหาตามความคิดและวิธีการของตนเอง ชอบอิสระ แสวงหาวิธีการต่าง ๆ จากการทดลองปฏิบัติผิดถูก การซักถาม การเปรียบเทียบ การคิด การเจริญงอกงามทางสติปัญญาสามารถสังเกตได้จากลักษณะพฤติกรรมการแสดงออกทางการเล่น การสามารถจำสิ่งของหรือบุคคลต่าง ๆ อย่างถูกต้อง สามารถบอกความเหมือน ความต่าง มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าแสดงออก การนำเอาสิ่งที่มีอยู่มาสัมพันธ์กัน ประกอบกับเด็กวัยนี้สามารถใช้ภาษาได้ดีขึ้น เข้าใจภาษา ความหมายของคำใหม่ ๆ อ่านและเขียนได้ดีขึ้นระยะนี้จะอยู่ในช่วงอายุ 2-7 ปี ซึ่งในช่วงต้น ( 2-4 ปี) เด็กจะตัดสินทุกอย่างขึ้นกับการรับรู้ทางสายตา เพราะฉะนั้นการตัดสินสิ่งต่างๆ อาจคลาดเคลื่อนได้ เช่น เด็กพบนกกระจอกในที่ต่างๆ กัน เด็กจะนึกว่า เป็นนกกระจอกตัวเดียวกัน ส่วนในระยะหลัง (4-7 ปี) เด็กจะมีความคิด ความเข้าใจสิ่งต่างๆ ดีขึ้น ความคิดรวบยอดต่างๆ จะพัฒนามากขึ้น ความมีเหตุผลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เด็กสามารถแยกแยะความแตกต่างของสิ่งของได้ สามารถจัดกลุ่มของสัตว์ ตลอดจนมีความคิดรวบยอดพื้นฐานเกี่ยวกับจำนวนของตัวเลข มีความคิดผัน และมีความจำที่แม่นยำขึ้น อย่างไรก็ตามลักษณะความคิด ความจำของเด็กในวัยนี้ยังอยู่ในขอบเขตจำกัด และเป็นลักษณะเฉพาะตัวซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้ ลักษณะความคิด ความคิดของเด็กในวัยอนุบาลจะไม่เหมือนกับความคิด ของเด็กในวัยเรียน หรือความคิดของวัยรุ่น ความคิดของเด็กวัยอนุบาล มีลักษณะที่เห็นได้ชัดเจนคือ 1. ลักษณะของความเชื่อว่าของทุกอย่างมีชีวิต (Animism) เด็กจะมีความเชื่อว่าทุกอย่างมีชีวิต มีความรู้สึก แม้แต่สิ่งของนั้นไม่มีชีวิต เช่น ตุ๊กตา เก้าอี้ ฯลฯ 2. ความเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกมีจุดมุ่งหมาย (Purposivism) เด็กวัยนี้มีความเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลกมีจุดมุ่งหมาย ดังจะปรากฏในพฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ที่เด็กชอบตั้งคำถามว่า “ทำไม” เช่น “ทำไมต้นไม้ถึงมีสีเขียว” ซึ่งคำถามเหล่านี้ผู้ใหญ่ควรตอบให้ถูกต้องโดยใช้คำง่ายๆ เพื่อวางความคิดรวบยอด พื้นฐานที่ถูกต้องให้เด็กและยังช่วยทำให้เด็กกล้าถามอีกด้วย 3. ลักษณะการนำปรากฏการณ์สองอย่างที่เกิดขึ้นพร้อมกันมาเป็นเหตุผลซึ่งกันและกัน(Phenomenalistic causality) ลักษณะนี้เด็กจะเข้าใจว่า มีความเกี่ยวพันระหว่างของหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กันเช่น เด็กนุ่งกางเกงสีแดงแล้วโดนตี เด็กจะคิดว่าเพราะนุ่งกางเกงแดงจึงโดนตี เป็นต้นเด็กในวัยอนุบาลจะมีลักษณะความคิดที่เฉพาะตัว ไม่เหมือนกับความคิดของผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิดควรมีความเข้าใจ โดยสามารถเข้าใจความคิดของเด็กพร้อมกับสามารถจะช่วยทำความคิดของเด็กที่ไม่ถูกต้องไปสู่ความคิดของเด็กที่ถูกต้อง เพื่อพัฒนาความคิด ความเข้าใจของเด็กที่ดีต่อไปในอนาคต ลักษณะความจำ ความจำของเด็กวัยอนุบาลยังอยู่ในขอบเขตจำกัด และยังไม่สามารถจะจำได้ดีเท่ากับความจำของผู้ใหญ่ ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้ยังไม่รู้จักกับการจัดระบบของความจำ แอบเปิ้ลและคณะ (Apple, 1972) ศึกษาเกี่ยวกับความจำโดยใช้ชุดของคำพบว่า เด็กจะใช้การจัดกลุ่มเพื่อช่วยความจำในช่วงอายุ 6-7 ปี ซึ่งพ้นช่วงวัยอนุบาลไปแล้ว ความจำของเด็กในวัยอนุบาลยังจำได้น้อยกว่าวัยผู้ใหญ่ ทั้งนี้เพราะเด็กยังไม่สามารถจัดกลุ่มของคำเพื่อช่วยความจำ เพราะฉะนั้นในวัยนี้ผู้ใหญ่ควรเข้าใจ และจัดหลักสูตรการเรียนให้เหมาะสมกับความสามารถของเด็กในวัยนี้ การรับรู้ การรับรู้ของเด็กวัยนี้จะมีพัฒนาการที่ก้าวหน้ามากขึ้น การศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้ของเด็กวัยอนุบาล ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาการรับรู้ทางสายตา กิ๊ปสัน (Gibson, 1969) ศึกษาพบว่า เด็กเล็กมักจะมองจุดหนึ่งจุดใดของภาพ แต่เมื่อเด็กอายุประมาณ 2-3 ปี เด็กจะมองส่วนต่างๆ มากขึ้นทำให้เด็กเริ่มมองวัตถุได้ถี่ถ้วนมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการมองวัตถุหรือรูปภาพของเด็กวัยอนุบาลยังอยู่ในขอบเขตจำกัดเนื่องจากวัยนี้มักตัดสินใจจากสิ่งที่เห็นเฉพาะจุด และยังละเลยรูปที่เป็นลักษณะรวม เอลไคนด์ และคณะ (Elkind, 1964) ศึกษาการรับรู้ของเด็กพบว่า เด็กเล็กๆ จะพุ่งจุดสนใจไปที่ส่วนหนึ่ง ส่วนใดของภาพโดยไม่สนใจกับรูปรวม หรือสนใจรูปรวม โดยละเลยส่วนประกอบย่อย จนเมื่ออายุ 8-9 ปี เด็กจึงสนใจทั้งส่วนรวมและส่วนย่อย ความสามารถในการรับรู้ของเด็กในวัยนี้ ได้รับอิทธิพลจากสิ่งต่างๆ เช่น ระดับเชาวน์ปัญญา แรงจูงใจ ความสนใจ ตลอดจนโอกาสที่ได้เข้าร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการรับรู้ เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า ความสามารถในการรับรู้ของเด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามเด็กในวัยอนุบาลจะมีการตัดสินใจต่างๆ จากการรับรู้ทางสายตา ยังไม่นำเหตุผลของการกระทำมาคิดเพื่อช่วยในการตัดสินใจมากนัก จึงทำให้เด็กในวัยนี้มีการตัดสินต่างๆ ยังไม่ถูกต้องเหมือนผู้ใหญ่ วัยอนุบาลเป็นวัยที่มีพัฒนาการก้าวหน้าขึ้นมาจากวัยทารก แต่พัฒนาการด้านต่างๆ ยังอยู่ในขอบเขตจำกัด ทั้งในด้านการรับรู้ ความมีเหตุผล ความจำ ฯลฯ เพราะฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่า วัยอนุบาลเป็นระยะที่อยู่ระหว่างการพัฒนา ดังนั้นความสามารถต่างๆ จึงยังอยู่ในขีดจำกัด บุคคลใกล้ชิดหรือครูควรเข้าใจการพัฒนาการในระยะนี้เพื่อจัดหลักสูตรให้เหมาะสมกับลักษณะของเด็กการส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาที่เหมาะสมจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่จะช่วยให้เด็กมีวิธีคิด การเรียนรู้ที่เหมาะสม และก่อให้เกิดทางเลือกและวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยพัฒนาต่อพัฒนาการในวัยต่อไปพัฒนาการทางบุคลิกภาพเด็กวัยนี้เป็นวัยที่นักจิตวิทยาพัฒนาการอีริคสัน (Erikson) เรียกว่า เป็นวัยแห่งการเป็นผู้คิดริเริ่มการรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt) เป็นวัยที่เต็มไปด้วยพลังงานที่จะเริ่มงานิมีความคิดริเริ่มที่จะทำสิ่งใหม่ๆ ชอบประกอบกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเองอย่างอิสระ ผู้ใหญ่ เช่น บิดา มารดา หรือครูจะพยายามช่วยเหลือและสนับสนุนมากกว่าการดุหรือห้าม เพราะการดุและห้ามอาจจะทำให้เด็กมีความขัดแย้งในใจ และรู้สึกผิด ทำให้เด็กเก็บกดความคิดริเริ่ม ฟลอยด์ได้กล่าวว่า เด็กวัยนี้จะมีปมเอ็ดดิปุส และพยายามที่จะหาวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งในใจ โดยการเลียนแบบพฤติกรรมพ่อหรือแม่ที่มีเพศเดียวกับตน ในระยะสุดท้ายของวัยเด็ดตอนต้นหรือวัยอนุบาล ราวๆ 5 ขวบ เด็กชายและเด็กหญิงจะเริ่มแสดงพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความแตกต่างระหว่างเพศ เด็กชายจะทำตนเหมือน “ผู้ชาย” เด็กหญิงก็จะทำตนเหมือน “ผู้หญิง” นักจิตวิทยาที่สนใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างเพศแต่ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีของฟลอยด์ ได้พยายามตั้งทฤษฎีเพื่ออธิบายความแตกต่างระหว่างเพศขึ้นทฤษฎีที่สำคัญมีดังนี้คือ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของบันดูรา และทฤษฎีพัฒนาการปัญญานิยมของโคลเบิร์กบันดูรา อธิบายว่า ความแตกต่างของพฤติกรรมระหว่างเพศเกิดจากการเรียนรู้ โดยการสังเกตสังคมตั้งความคาดหวังเกี่ยวกับพฤติกรรมของชายและหญิงไว้แตกต่างกัน เวลาที่ชายแสดงพฤติกรรมเหมือน “ผู้ชาย” โดยการสังเกต หรือเลียนแบบก็มักจะได้รับรางวัล สำหรับเด็กหญิง ก็เช่นเดียวกับพฤติกรรมที่เหมือนกับ “ผู้หญิง” มักจะได้รับการสนับสนุนหรือได้รับรางวัล เด็กชายและเด็กหญิงพยายามแสดงบทบาทตามเพศของตนตามที่สังคมได้ตั้งความคาดหวังไว้สำหรับโคลเบิร์ก กล่าวว่า ความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างเพศเกิดพร้อมๆ กับการพัฒนาการทางระดับเชาว์ปัญญา ซึ่งโคลเบิร์ก แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังต่อไปนี้ระดับแรก เป็นระยะที่เด็กชายหญิงรู้อย่างชัดเจนว่าตนเป็นชายหรือเป็นหญิง เป็นต้นว่า รู้ความแตกต่างของอวัยวะเพศ โคลเบิร์ก เรียกระดับนี้ว่า “Basic Gender Identity”ระดับที่ 2 เป็นระยะที่เข้าใจความคงตัว หรือคงที่องเพศ เช่น ถ้าเป็น“ผู้ชาย” ก็จะเป็นผู้ชายตลอด “ผู้หญิง” ก็เป็นผู้หญิงตลอด แลกเปลี่ยนกันไม่ได้ โคลเบิร์ก เรียกระดับนี้ว่า “Gender Stability” ระดับที่ 3 เป็นระยะที่เด็กหญิงเด็กชายทราบว่า ความแตกต่างระหว่างเพศเป็นสิ่งถาวรเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แม้ว่าจะเปลี่ยนพฤติกรรมที่แสดงออก หรือเปลี่ยนการแต่งตัวเด็กชายและเด็กหญิงทราบว่า แม้จะแต่งตัวเหมือนกัน เช่น นุ่งกางเกงใส่เสื้อเหมือนกัน เด็กหญิงก็ยังคงเป็นเด็กหญิง เด็กชายก็ยังคงเป็นเด็กชาย โคลเบิร์ก เรียกระดับนี้ว่า “Gender Constancy”โคลเบิร์ก กล่าวว่า เด็กชายและเด็กหญิงจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างเพศอย่างแท้จริงก็ต่อเมื่ออายุราวๆ 6 ขวบซานดรา เบ็ม (Sandra Bem, 1985) อธิบาย sex typing ว่าเป็นสิ่งที่เด็กหญิงและเด็กชายเรียนรู้จาก schemas เกี่ยวกับเรื่องเพศของแต่ละวัฒนธรรม ดังนั้นเด็กหญิงและเด็กชายจะจัดรวบรวมพฤติกรรมของหญิงและชายเป็น schemas หญิงและชาย และทราบความแตกต่างเนื่องจากสังคมแต่ละสังคมไม่ได้ตั้งความคาดหวังเกี่ยวกับพฤติกรรมองชายหญิงไว้แตกต่างกัน การเรียนรู้พฤติกรรมตามเพศของเด็กในวัยนี้จึงสำคัญมาก เพราะจะช่วยเด็กในการปรับตัวทั้งทางด้านอารมณ์และสังคมลักษณะทางบุคลิกภาพที่เด่นชัดของเด็กวัยนี้คือ การยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentrism) เพียร์ เจต์ ได้อธิบายว่า เด็กวัยนี้ไม่สามารถที่จะเข้าใจความคิดเห็นขอคนอื่น ดังนั้น จึงเป็นการยากที่เด็กวัยนี้ จะยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ดังนั้น จึงเป็นการยากที่เด็กวัยนี้ จะยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น เด็กวัยนี้จะคิดว่าสิ่งที่ตนรับรู้คนอื่นก็รับรู้ด้วย การส่งเสริมให้เด็กได้มีโอกาสที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมวัย โดยมีผู้ใหญ่ให้ความช่วยเหลือ จะช่วยให้การยึดตนเองเป็นศูนย์กลางของเด็กลดลง (Piaget and Inhelder , 1967) ตัวแบบในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก เช่น บิดา มารดา ครู และเพื่อนร่วมวัย รวมทั้งสิ่งที่เห็นจากโทรทัศน์ จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเด็กวัยนี้มาก การใช้ภาษามาตรฐานทางศีลธรรมและค่านิยมต่างๆ เด็กวัยนี้ควรจะได้รับการเรียนรู้โดยการสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมเสริมสร้างสังคมต่างๆ (Prosocial Behaviors) ตัวอย่างเช่น การแสดงความเมตตาต่อเพื่อน สัตว์เลี้ยง และการแสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งของเล่น และขนมให้เพื่อน นอกจากนั้นการเรียนรู้จากตัวแบบจริงแล้ว ครูอาจจะใช้การเล่านิทาน การใช้บทบาทสมมติช่วยในการสอนพัฒนาการทางภาษาภาษาเป็นพัฒนาการที่สำคัญมาก เพราะภาษาเป็นสื่อของความคิด ความรู้สึก และความสัมพันธ์เชิงสังคม มีการศึกษามากมายที่ชี้ชัดว่า พัฒนาการทางภาษาทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางสติปัญญาในเชิงบวกเมื่อสิ้นวัยทารกเด็กใช้ภาษาได้แล้ว แต่ยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ดีเท่าผู้ใหญ่เด็กจะขัดเกลาสำนวนเรียนและเลียนแบบภาษาให้ถูกต้องจนใช้งานได้ดีในช่วงระยะวัยเด็กตอนต้น เมื่อสิ้นสุดระยะนี้ไม่ว่าเด็กชาติไหนสามารถพูดภาษาแม่ของตนได้ดีเท่าผู้ใหญ่ วัย 6 ขวบ เป็นระยะสุดท้ายของพัฒนาการภาษาพูด นอกจากภาษาพูดแล้ว เด็กบางคนเริ่มพัฒนาภาษาเขียนและเริ่มอ่านหนังสือ เพราะกล้ามเนื้อเล็กของเด็กและสายตาเริ่มพัฒนาพอใช้งานได้แล้ว การพัฒนาทางภาษาจนมีประสิทธิภาพนี้ เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญสำหรับชีวิตของเด็ก เพราะเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้วิชาต่างๆ เมื่อเข้าโรงเรียนเป็นเครื่องมือในการติดต่อสมาคมเกี่ยวข้องกับผู้อื่น เป็นเครื่องมือสื่อความรู้ความคิดระหว่างตนเองและกับบุคคลอื่นๆ ช่วยทำให้เข้าใจโลก สังคม ชีวิต และบุคคลดีขึ้นกว่าวัยทารกการพัฒนาภาษาของเด็กจะเร็วช้าเพียงไรขึ้นอยู่กับเหตุหลายประการ อาทิ จำนวนพี่น้อง เพศ (หญิงพัฒนาทางภาษาเร็วกว่าชาย) ลักษณะเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว ขนาดของครอบครัว สติปัญญาของเด็กเอง ความเอาใจใส่ต่อเด็กของบุคคลในครอบครัว เด็กในวัยนี้ชอบพูดถึงตัวเองและพูดกับตัวเอง (ในบางครั้ง) ชอบพูดถึงกิจวัตรประจำวันของเขา กิจกรรมของผู้เกี่ยวข้องกับเขาหรือผู้ที่เขารู้จัก ความผิดปกติในด้านการพัฒนาภาษาพูดความผิดปกตินี้เกิดจากหลายสาเหตุ อาทิ อาการผิดปกติของระบบสมองและประสาท ที่บังคับควบคุมอวัยวะที่เกี่ยวกับการพูด เมื่อไม่ได้ยินเสียงก็ไม่สามารถเลียนผู้อื่นเพื่อพูดเอง มีสาเหตุอื่นๆ อีกที่เนื่องจากความบกพร่องทางกาย อาการตึงเครียดทางอารมณ์ทำให้หมดสนุกที่จะฝึกฝนการพูดก็เป็นเหตุที่เป็นไปได้เด็กบางคนอาจพูดติดอ่าง การติดอ่างเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลายประการ เช่น 1. เติบโตช้าผิดปกติ สมองช้า2. มีอารมณ์ประเภทต่างๆ รุนแรงเกินสมควร เช่น ตื่นเต้น หวาดกลัว วิตกกังวล เศร้าโศก เสียใจ ระวังตัวเองมากเกนไป3. สมองคิดเร็วมากกว่าที่จะพูดออกมาได้ทัน 4. ถูกล้อเลียนทำให้สูญเสียความมั่นใจตนเอง ประหม่า ไม่แน่ใจ เคร่งเครียด เพราะถูกผู้ใหญ่กวดขัน ถูกวางอำนาจข่มมากเกินไปพัฒนาการทางด้านศิลปะ พัฒนาการด้านศิลปะของวัยเด็กตอนต้นมีหลายประการ เช่น พับกระดาษ ปั้นดินน้ำมัน ทำการฝีมือ ร้องเพลง พับใบมะพร้าวเป็นรูปต่างๆ ศิลปะเด็กเป็นการแสดงออกที่ซื่อ บริสุทธิ์ เรียบง่าย ไร้จริตมายา มีแต่ความสวยสดงดงาม ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ทำให้ศิลปะเด็กมีเสน่ห์ โดยเฉพาะที่เกิดจากจินตนาการตรงของเด็กเอง พัฒนาการด้านศิลปะเป็นการพัฒนาทั้งด้านความคิดและทักษะควบคู่กัน พัฒนาการเชิงศิลป์ของเด็กมีความพิเศษกว่าผู้ใหญ่ ในแง่เป็นการเสริมสมรรถนะทางกาย ด้านประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว รวมทั้งความสามารถด้านสมองเชิงสร้างสรรค์ และแสดงออกซึ่งจินตนาการซึ่งมีค่าต่อพัฒนาการทางอารมณ์ จิตใจ และในความคิดเชิงบวก เหมือนดังที่ศิลปินไทยท่านหนึ่งได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า“ธรรมชาติของมนุษย์มีความโน้มเอียงไป ในทางรักความสวยความงาม ถ้าสิ่งนี้ได้รับการพัฒนาอย่างดีและถูกต้อง จะมีอิทธิพลและส่งผลต่อบุคลิกภาพ เมื่อเจริญเติบโตจะเป็นมนุษย์ที่มีความดีงาม ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพราะองค์ประกอบด้านความงามจะไปถ่วงดุลกับองค์ประกอบด้านความรู้ความสามารถ ทำให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ตามปกติมนุษย์มีความสามารถและต้องการที่จะแสดงออก สร้างสรรค์ศิลปะมาตั้งแต่เด็ก”พัฒนาการทางความคิดของเด็กด้านศิลปะมักจะไม่ได้นำมาศึกษาค้นคว้ากันมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาพัฒนาการทางความคิดด้านอื่น ทั้งๆ ที่เด็กตั้งแต่ช่วงวัยทารกจนถึงวัยเด็กตอนปลายมีความเป็นศิลปินตามธรรมชาติที่ชอบแสดงออก ไม่จำเป็นว่าเขาผู้นั้นจะมีแววหรือมีพรสวรรค์ทางนี้มาอย่างมากมายหรือไม่ แสดงออกในรูปศิลป์ เช่น การขีดเขียน การปั้นสรุปวัยเด็กตอนต้นหรือวัยก่อนเรียน เป็นวัยที่มีพัฒนาการและมีการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านบุคลิกภาพซึ่งจะเด่นชัดที่สุด กล่าวคือเด็กวัยนี้จะมีความต้องการเป็นตัวของตัวเองสูง ชอบช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด ปฏิเสธความช่วยเหลือจากผู้อื่น ขณะเดียวกันเด็กวัยนี้จะเริ่มเรียนรู้ในการมีเหตุผล และมีความสามารถในการคิดทางด้านคุณธรรม จริยธรรม ดังนั้น การเลี้ยงดูที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยนี้จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการและมีวุฒิภาวะที่เหมาะสมต่อไป